Loading...
เว็บไซต์ อายิโนะโมะโต๊ะประเทศไทย
เว็บไซต์ อายิโนะโมะโต๊ะประเทศไทย

การปรุงรสอูมามิเพียงเล็กน้อยช่วยลดปัญหาสุขภาพอันใหญ่หลวงได้หรือไม่?

11/10/2021

ความสัมพันธ์ที่เหลือเชื่อของอูมามิ เกลือ และความดันเลือดสูง

ความดันเลือดสูง: “นักฆ่าที่มากับภัยเงียบ”

โดยปกติแล้วเมื่อคุณไปพบแพทย์ สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่จะทำคือการวัดความดันเลือดที่แขนของคุณ ปั๊มอากาศเข้าไป และจดบันทึกค่าที่ได้ หากคุณโชคดีและมีสุขภาพดี นั่นเป็นเพียงครั้งเดียวที่คุณจะนึกถึงความดันเลือดของคุณ สำหรับบางคน แพทย์อาจบอกคุณว่าความดันเลือดของคุณสูงเกินไป และคุณควรดูแลการรับประทานอาหารและออกกำลังกายมากกว่านี้

การตรวจความดันเลือดเป็นเรื่องปกติที่บางคนอาจไม่ได้ใส่ใจ แต่ความจริงแล้ว การมีความดันเลือดสูง ที่เรียกในภาษาทางการแพทย์ว่า “ภาวะความดันโลหิตสูง” นั้น อันตรายอย่างยิ่ง ตามข้อมูลจาก Mayo Clinic ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกนั้นพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้คนที่ไม่ได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง จะเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจที่เกี่ยวเนื่องกับการไหลเวียนของเลือดไม่ดีพอ เช่น การเกิดหัวใจวาย และคาดว่าอีกหนึ่งในสามสามารถเสียชีวิตเนื่องจากภาวะเส้นเลือดในสมองอุดตันได้1. ยิ่งไปกว่านั้น โรคความดันโลหิตสูงนั้นไม่แสดงอาการใดๆ ที่ชัดเจน นี่จึงเป็นเหตุให้แพทย์ตรวจสอบความดันเลือดทุกครั้งที่มีโอกาส

■ ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง

ทั้ง ๆ ที่เรามีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของความดันโลหิตสูง รวมถึงสามารถควบคุมตัวเองได้ โดยการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการใช้ยาต่าง ๆ มากมายแล้ว แต่โรคความดันโลหิตสูงกำลังเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รายงานจำนวนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป พบว่าในจำนวนนี้ร้อยละ 20 เป็นผู้หญิงและร้อยละ 24 เป็นผู้ชาย2. และสิ่งที่แย่ไปกว่านั้นคือ มีการคาดการณ์ว่าโรคความดันโลหิตสูงคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกประมาณ

 

9.4 ล้านคนต่อปี3. เป็นจำนวนกว่าร้อยละ 13 ของการเสียชีวิตจากสาเหตุทั้งหมด

 

■ จำนวนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

 

นอกจากการสร้างภาระอันหนักหน่วงให้กับผู้ป่วยและครอบครัวแล้ว โรคความดันโลหิตสูงยังเป็นภาระอันหนักอึ้งของสังคมอีกด้วย ซึ่งมาในรูปแบบของค่ารักษาพยาบาล เฉพาะในสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้นอยู่ที่ประมาณ 54,000 ล้านดอลล่าร์4. เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขที่มากดังกล่าวกับตัวเลขอื่น ๆ แล้ว จะพบว่านั่นเทียบเท่ากับการจ่ายเงินให้ประชากรในอเมริกา ในอังกฤษ และในรัสเซียคนละ 1,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว

■ ค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับโรคความดันโลหิตสูงในสหรัฐอเมริกา

 

แต่ข่าวดีก็คือ ไม่ใช่ทุกประเทศที่ประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และหนึ่งในประเทศดังกล่าวที่สวนทางประเทศอื่น ๆ คือ ญี่ปุ่น ที่จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงลดลงอย่างคงที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 หนึ่งในสาเหตุของแนวโน้มเชิงบวกนี้เชื่อกันว่า เกิดจากการปรับปรุงการรับประทานอาหารให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการลดปริมาณการบริโภคเกลือ

 
ความเชื่อมโยงระหว่างเกลือและความดันโลหิตสูง

โซเดียมเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพมนุษย์ หากไม่มีโซเดียม กล้ามเนื้อของเราจะไม่สามารถหดตัว และระบบประสาทของเราจะไม่ทำงานเนื่องจากเราไม่สามารถส่งกระแสประสาทได้ นอกจากโซเดียมจะเป็นส่วนสำคัญสำหรับสุขภาพของผู้คนแล้ว ยังมีการถกเถียงกันอีกว่าโซเดียมได้ช่วยให้สปีชีส์ของเรามีชีวิตรอดมาจนถึงทุกวันนี้ ในอดีตนั้น มนุษย์ไม่สามารถหาอาหารได้เสมอไป ช่วงฤดูหนาวอันหนาวเหน็บที่ไม่สามารถออกไปล่าสัตว์ได้ และช่วงฤดูใบไม้ผลิที่แห้งแล้งก็ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ผลที่ตามมาคือ ในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา มนุษย์ใช้เกลือถนอมอาหารรวมไปถึงเนื้อสัตว์ เนย หรือแม้กระทั่งขนมปัง ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้มีสารอาหารเพียงพอตลอดทั้งปี

 

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันโดยทั่วกันว่าการบริโภคเกลือที่มากเกินไปอาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง สิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพมากขนาดนั้นกลายเป็น “นักฆ่าที่มากับภัยเงียบ” อย่างความดันเลือดสูงได้อย่างไร? พูดให้เข้าใจง่ายคือ ยิ่งคุณมีโซเดียมในร่างกายมากเท่าไหร่ ร่างกายยิ่งกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากเลือดได้ยากเท่านั้น นั่นหมายความว่าจะมีของเหลวมากขึ้นในกระแสเลือดและทำให้เกิดความดันที่สูงขึ้น

 

■ ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคเกลือกับความดันเลือดที่เพิ่มขึ้น

การบริโภคเกลือเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดความดันเลือดสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ แล้ว เช่น กรรมพันธุ์หรือความเครียด ความดันนั้นสามารถควบคุมได้ง่ายกว่า ทำให้ WHO ออกแนวทางให้ผู้คนบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน ซึ่งมีค่าเทียบเท่ากับการบริโภคเกลือแกง 5 กรัม6. ยิ่งไปกว่านั้น รัฐสมาชิกของ WHO เห็นชอบให้มีการลดปริมาณการบริโภคเกลือของประชากรโลกลงร้อยละ 30 ในปี 2025

■ รัฐสมาชิกของ WHO เห็นชอบให้ลดปริมาณการบริโภคเกลือลงร้อยละ 30

เครื่องปรุงรสอูมามิเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่?

เครื่องปรุงรสอูมามิ (โมโนโซเดียมกลูตาเมต MSG หรือผงชูรส) ไม่ใช่เกลือ MSG ประกอบด้วยโซเดียมร้อยละ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณเกลือร้อยละ 39 ในเกลือ นอกจากนี้ เราใช้ MSG ในปริมาณน้อยกว่ามากในการทำให้อาหารมีรสชาติอร่อย เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เกลือแล้ว นั่นหมายความว่า ปริมาณการบริโภคโซเดียมในเครื่องปรุงรสอูมามินั้นน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับการบริโภคเกลือ

ซึ่งนำไปสู่คำถามที่น่าสนใจนี้: เนื่องจากปริมาณเพียงเล็กน้อยของเครื่องปรุงรสอูมามิที่ต้องใช้ในการทำให้อาหารอร่อย และปริมาณโซเดียมที่มีอยู่เล็กน้อยในเครื่องปรุงรสอูมามิ แล้วการใช้เครื่องปรุงรสอูมามินี้จะสามารถช่วยผู้คนลดการบริโภคเกลือได้หรือไม่?

ผลจากการศึกษาวิจัยงานหนึ่ง ให้คำตอบคือ “ได้” อาสาสมัครได้ประเมินความอร่อยของซุปใสแบบญี่ปุ่นที่ปรุงรสด้วยเกลือและซุปอีกชามที่ปรุงรสด้วยเกลือในปริมาณน้อยลงมากแต่เติมเครื่องปรุงรสอูมามิลงไปด้วย ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า การเติมเครื่องปรุงรสอูมามิเพื่อให้ได้ความอร่อยของซุปในระดับเดียวกันนั้นสามารถทำได้โดยการใช้เกลือน้อยลงกว่าร้อยละ 308! ที่ Ajinomoto Co., Inc. (“บริษัท Ajinomoto”) เราเชื่อว่าเราสามารถลดปริมาณการบริโภคเกลือได้ในอาหารหลากหลายประเภททั่วโลก

■ เครื่องปรุงรสอูมามิสามารถลดการบริโภคโซเดียมลงได้ประมาณร้อยละ 30

 

■ อาหารเกลือน้อยแต่รสชาติเยี่ยม

นี่คือสูตรปรุงรสอาหารง่าย ๆ ที่ใช้เครื่องปรุงรสอูมามิเพื่อช่วยคุณลดปริมาณเกลือในอาหารของคุณโดยไม่ต้องลดความอร่อยลง!

 

  • สูตรไข่กวน
  • ไข่ 8 ฟอง: 400 กรัม
  • นม: 80 ซีซี
  • พริกไทยขาว: ตามชอบ
     
  • สูตรอาหารทั่วไป
  • เกลือ: 2 กรัม (2/5 ช้อนชา)
  • สูตรเกลือน้อย
  • เกลือ: 0.8 กรัม (1/6 ช้อนชา)
  • AJI-NO-MOTO ®: 0.4 กรัม

ลดเกลือลงกว่า ร้อยละ 50

หน้าที่ของเราในการลดการบริโภคเกลือ

เพื่อรักษาสัญญาในการช่วยผู้คนให้รับประทานอาหารที่ดีและมีชีวิตที่มีความสุขขึ้น บริษัท Ajinomoto มุ่งมั่นทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อช่วยผู้คนลดการบริโภคเกลือลง ยกตัวอย่างเช่น:

  • ญี่ปุ่น: มีการกำหนด “วันลดเกลือ” อย่างเป็นทางการในสังคมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในญี่ปุ่น ซึ่งบริษัท Ajinomoto สนับสนุนรายการอาหารที่มีเกลือต่ำในร้านค้าหลัก ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น
  • สหรัฐอเมริกา: เป็นเจ้าภาพจัดสาธิตการปรุงอาหารและรสอูมามิที่งาน Food Nutrition Conference and Expo ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและสารอาหาร
  • เวียดนาม: จัดทำซอฟท์แวร์พัฒนาเมนูอาหารให้โรงเรียนกว่า 4,000 แห่ง เพื่อปรุงอาหารกลางวันที่ปรับสมดุลด้วยเครื่องปรุงรสอูมามิในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับการใช้เกลือ
  • บราซิล เปรู และอินโดนีเซีย: จัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับเครื่องปรุงรสอูมามิและการลดปริมาณเกลือหลายการประชุม
  • มาเลเซีย: จัดพิมพ์หนังสือปรุงอาหารที่มีปริมาณเกลือต่ำ แต่ใช้เครื่องปรุงรสอูมามิแทนตามคำแนะนำของ WHO ในการลดการบริโภคเกลือต่อวันให้น้อยลง

คำมั่นสัญญาของเรา

การลดการบริโภคเกลือเป็นมาตรการที่ได้ผลมากที่สุดที่ประเทศต่าง ๆ สามารถทำให้สุขภาพของประชากรของตนดีขึ้นได้ หากการบริโภคเกลือสามารถลดลงได้ร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2568 เราจะสามารถลดการเสียชีวิตของผู้คนเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงลงได้ 2.5 ล้านคนทุกปี7 เรามุ่งมั่นอย่างจริงจังในการสนับสนุนความพยายามทั่วโลกนี้ ผ่านการสื่อสารและการสาธิตที่อ้างอิงตามหลักฐาน เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการใช้เครื่องปรุงรสอูมามิเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่มีความสมดุล ดีต่อสุขภาพ และมีปริมาณเกลือต่ำ
 

เกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto Co., Inc.

บริษัท Ajinomoto เป็นผู้ผลิตเครื่องปรุง อาหารแปรรูป เครื่องดื่มคุณภาพสูง รวมถึงผลิตภัณฑ์กรดอะมิโน ยารักษาโรค และสารเคมีคุณลักษณะพิเศษ เป็นเวลาหลายปีแล้วที่บริษัท Ajinomoto ได้สนับสนุนวัฒนธรรมด้านอาหารและสุขภาพมนุษย์ผ่านการใช้เทคโนโลยีกรดอะมิโนอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันบริษัทได้มีความเกี่ยวโยงเพิ่มขึ้นกับแนวทางเพื่อการพัฒนาแหล่งทรัพยากรอาหาร สุขภาพมนุษย์ และความยั่งยืนสากล บริษัทก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2452 และตอนนี้ดำเนินกิจการใน 35 ประเทศและภูมิภาค บริษัท Ajinomoto มียอดขายสุทธิในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 1,150.2 พันล้านเยน (10,036 ดอลล่าร์สหรัฐ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto (TYO : 2802) และจดหมายข่าวฉบับก่อนหน้านี้ กรุณาไปที่ www.ajinomoto.com
 

อ้างอิง:

  • Mayo Clinic Staff, “อันตรายจากความดันเลือดสูง (High blood pressure dangers): ผลกระทบของความดันโลหิตสูงต่อรางกาย (Hypertension's effects on your body)” Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/in-depth/high-blood-pressure/art-20045868
  • WHO “ข้อมูลการเฝ้าสังเกตสุขภาพประชากรโลก (Global Health Observatory (GHO) data): ความดันเลือดที่สูงขึ้น (Raised Blood Pressure)” องค์การอนามัยโลก http://www.who.int/gho/ncd/risk_factors/blood_pressure_text/en/
  • WHO “คำถามที่พบบ่อยสำหรับโรคความดันโลหิตสูง (Q&As on Hypertension)” องค์การอนามัยโลก กันยายน 2558 http://www.who.int/features/qa/82/en/
  • Luis Alcocer and Liliana Cueto, “ทบทวนงานวิจัย: ความดันโลหิตสูงในแง่เศรษฐกิจและสุขภาพ (Hypertension, a health economics perspective)” ความก้าวหน้าในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด 2 (3) (Therapeutic Advances in Cardiovascular Disease 2 (3):)): 147-155 1 มิถุนายน 2551
  • The World Bank Group “ข้อมูล: ประชากร รวม: ทุปกระเทศและเศรษฐศาสตร์” The World Bank https://data.worldbank.org/indicator/SP.POP.TOTL?name_desc=false
  • WHO, “WHO ออกแนวทางใหม่สำหรับปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมในอาหาร” องค์การอนามัยโลก 31 มกราคม 2556 http://www.who.int/mediacentre/news/notes/2013/salt_potassium_20130131/en/
  • WHO, “การลดเกลือ”องค์การอนามัยโลก 30 มิถุนายน 2559 http://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/salt-reduction
  • ข้อมูลในไฟล์